analyticstracking
หัวข้อ   “ หลังผ่าน 2 เดือนประชาชนคิดอย่างไรกับร่างรัฐธรรมนูญ
ประชาชนส่วนใหญ่ 67.2% เห็นว่าไม่ควรเลื่อนวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แต่ควรแก้ไขร่างฯ ก่อน
65.8% ไม่กังวลกับการรวมกลุ่มเคลื่อนไหว ก่อความไม่สงบ ก่อนลงประชามติ
63.0% ยังสนับสนุนให้บิ๊กตู่เป็นนายกฯ ต่อ หากร่างฯ ไม่ผ่าน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 หลังจากที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญหรือ กรธ. ได้ร่างรัฐธรรมนูญ
เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมากรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “หลังผ่าน 2 เดือน
ประชาชนคิดอย่างไรกับร่างรัฐธรรมนูญ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาค
ทั่วประเทศจำนวน 1,166 คน พบว่า
 
                  เมื่อถามความเห็นว่าควรเลื่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่
7 สิงหาคมนี้ ออกไปหรือไม่ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.2 เห็นว่าไม่ควรเลื่อน

ขณะที่ร้อยละ 20.6 เห็นว่าควรเลื่อน ส่วนร้อยละ 12.2 ไม่แน่ใจ
 
                 นอกจากนี้เมื่อถามว่าควรแก้ไขหรือเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงตัวร่าง
รัฐธรรมนูญหรือไม่ เพื่อลดความขัดแย้งให้กับทุกกลุ่ม ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.8
เห็นว่าควรแก้ไข
ขณะที่ร้อยละ 38.2 เห็นว่าไม่ควรแก้ไข และร้อยละ 15.0 ไม่แน่ใจ
 
                 ด้านความกังวลต่อการรวมกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองและการก่อ
ความไม่สงบ เมื่อใกล้วันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 65.8
กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 28.9 กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ที่เหลือร้อยละ 5.3 ไม่แน่ใจ
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่ายังคงสนับสนุนให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป
หรือไม่ หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติ ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.0 ให้การสนับสนุน
ขณะที่ร้อยละ 21.2 ไม่
ให้การสนับสนุน ส่วนร้อยละ 15.8 ยังไม่แน่ใจ
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “คิดว่าควรเลื่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ ออกไปหรือไม่”

 
ร้อยละ
ไม่ควรเลื่อน
67.2
ควรเลื่อน
20.6
ไม่แน่ใจ
12.2
 
 
             2. ข้อคำถาม “คิดว่าควรแก้ไขหรือเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงตัวร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่
                 เพื่อลดความขัดแย้งให้กับทุกกลุ่ม”

 
ร้อยละ
ควรแก้ไข
46.8
ไม่ควรแก้ไข
38.2
ไม่แน่ใจ
15.0
 
 
             3. ความกังวลต่อการรวมกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองและการก่อความไม่สงบ เมื่อใกล้วันลง
                 ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ”

 
ร้อยละ
กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 32.2 และน้อยที่สุดร้อยละ 33.6)
65.8
กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 23.9 และมากที่สุดร้อยละ 5.0)
28.9
ไม่แน่ใจ
5.3
 
 
             4. ข้อคำถาม “ท่านยังคงสนับสนุนให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
                 ต่อไปหรือไม่ หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติ”

 
ร้อยละ
สนับสนุน
63.0
ไม่สนับสนุน
21.2
ไม่แน่ใจ
15.8
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                 1) เพื่อต้องการทราบความเห็นว่าควรเลื่อนวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญออกไปหรือไม่
                 2) เพื่อต้องการทราบว่าควรมีการแก้ไขหรือเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงตัวร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่
                     เพื่อลดความขัดแย้งให้กับทุกกลุ่ม
                 3) เพื่อสะท้อนความกังวลต่อการรวมกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองและการก่อความไม่สงบ
                     เมื่อใกล้วันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
                 4) เพื่อสะท้อนต่อการสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป
                     หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 7 - 9 มิถุนายน 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 11 มิถุนายน 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
620
53.2
             หญิง
546
46.8
รวม
1,166
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
158
13.6
             31 – 40 ปี
247
21.2
             41 – 50 ปี
333
28.4
             51 – 60 ปี
277
23.8
             61 ปีขึ้นไป
151
13.0
รวม
1,166
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
722
61.9
             ปริญญาตรี
354
30.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
90
7.7
รวม
1,166
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
189
16.2
             ลูกจ้างเอกชน
269
23.1
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
440
37.8
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
65
5.6
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
145
12.4
             นักเรียน/ นักศึกษา
39
3.3
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
19
1.6
รวม
1,166
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776